วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556



กีฬาสีวันที่ 2 มีนาคม 2556




        ในงานสนุกมากมีเกมในแบบปฐมวัยให้นักศึกษาได้ร่วมเล่นกัน

ทุกคน ทุกระดับชั้นปีตั้งแต่น้องปี 1 ถึงรุ่นพี่ปี 5 ฉันได้ลงเล่นเกมด้วย 

2 ครั้งสนุกมากเลยค่ะ อยากให้จัดแบบนี้อีกเรื่อยๆไป

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก

ปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติ

สัมพันธ์

ชื่อผู้วิจัย พัชรี กัลยา











ภาคผนวกงานวิจัย




ครั้งที่ 16

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556

วันนี้อาจารย์พานักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแก้วน้ำส่วนตัว ภายในงานมี

เกมให้ร่วมเล่นมากมาย เช่น ห่วงหารัก...โดยมีของรางวัลได้แก่ ขวด

น้ำ สมุด ดินสอ เป็นต้น 



หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมนี้เสร็จ อาจารย์ก็ได้เปิดภาพกิจกรรมศิลปะ

ของเด็กปฐมวัยให้นักศึกษาดูเพื่อเป็นแนวทางในการสอน..




จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอนต่อให้ครบทุก

กลุ่ม...

กลุ่มที่ 3 สอนหน่วย ทะเลแสนสวย...

กลุ่มที่ 4 สอนหน่วย ผม...


ครั้งที่ 15

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556

อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ 2 ออกมาสาธิตการสอน เรื่อง ต้นไม้

วันจันทร์  ครูพูดเกี่ยวกับต้นไม้เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน..และถามเด็กเพื่อ

กระตุ้นความคิดของเด็ก ครูนำต้นไม้ของจริงมาให้เด็กดูเพื่อให้เด็ก

สังเกต สี ลักษณะ ความแตกต่างความเหมือนของต้นไม้ยืนต้นกับ

ต้นไม้ล้มลุก




วันอังคาร  ลักษณะของต้นไม้ - ครูถามเด็กในเรื่องของเมื่อวานว่าเด็ก

รู้จักต้นไม้ชนิดไหนบ้างแล้ว จากนั้นครูนำต้นไม้ของจริงมาให้เด็ก

สังเกต ขนาด ลำต้น ใบ  - ครูเก็บข้อมูลจากเด็กแล้วทำเป็นตาราง

วันพุธ ส่วนประกอบของต้นไม้ - ครูถามเด็กเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนไป

แล้วของเมื่อวาน - ครูนำภาพส่วนประกอบของต้นไม้มาให้เด็กดู






จากนั้นครูใช้คำถาม ถามเด็กเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก หรืออาจจะ

ถามเด็กว่าเด็กๆชอบปลูกดอกไม้ชนิดไหนมากกว่ากันระหว่าง ดอก

มะลิ กับดอกกุหลาบ 


วันพฤหัสบดี ประโยชน์ของต้นไม้ ครูอาจจะแต่งนิทานหรือเล่าเรื่อง

เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้ให้เด็กฟัง

วันศุกร์ อันตรายจากต้นไม้  - ครูใช้คำถาม..ถามเด็กเกี่ยวกับอุบัติเหตุ

ที่เกิดขึ้นจากต้นไม้ จากนั้นครูควรแนะนำข้อควรระวังที่เด็กอาจจะได้

รับอันตรายจากต้นไม้ - ครูอาจจะพาเด็กออกไปดูต้นไม้ในโรงเรียน





วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 14

วันที่ 31 มกราคม 2556

วันนี้กลุ่มของฉันได้ออกไปสาธิตการสอนจากที่ได้แบ่งหัวเรื่อง

จาก mind mapping แล้ว กลุ่มของฉันได้สอนเรื่องของดิน โดย

ฉันได้หัวเรื่องคือ ส่วนที่อยู่ในดิน ก็จะมีการสอนดังนี้

1. ทบทวนเรื่องของวันก่อนที่เด็กได้เรียนไปว่าเด็กรู้อะไรบ้าง

2.จากนั้นก็เริ่มสอนเรื่องของตัวเอง โดยนำสื่อมาให้เด็กสังเกต

3.จากนั้นก็เก็บข้มูลจากเด็กว่าเด็กเห็นอะไรบ้างที่อยู่ในดิน

4.จากนั้นแยกข้อมูลที่ได้จากเด็ก โดยแยกออกเป็นสิ่งมีชีวิตและ

ไม่มีชีวิต

5.พอแยกเสร็จแล้วก็ถามเด็กว่าสิ่งที่อยู่ในดินมีจำนวนทั้งหมด

เท่าไหร่ 

วันจันทร์ ชนิดของดิน : ถามเด็กว่ารู้จักดินอะไรบ้าง จากนั้นก็

เขียนลงไปใน

กระดานโดยเขียนเลขกำกับไว้ด้วย จากนั้นให้เด็กนับว่ามีดิน

ทั้งหมดกี่ชนิด ครูนำตระกร้าใส่ดินแล้วให้เด็กทายว่าในตระกร้า

มีอะไร จากนั้นค่อยบอกเด็กว่าในตะกร้ามีดินอะไรบ้าง แล้วให้

เด็กดูว่าดินมีสี หรือลักษณะอย่างไร

วันอังคาร ลักษณะ : นำดินร่วนและดินเหนียวมาให้เด็กดูข้อ

แตกต่าง จากนั้นก็เปรียบเทียบว่าเด็กรู้จักดินชนิดไหนมากกว่า

กันโดยทำเป็นตาราง

                                              ดินร่วน



ดินเหนียว




วันพุธ   สิ่งที่อยู่ในดิน : ทบทวนเรื่องของเมื่อวานว่าเด็กรู้จัก

อะไรบ้างเกี่ยวกับดิน จากนั้นครูนำกิ่งไม้ ใบไม้ใส่ลงไปในดิน

แล้วให้เด็กสังเกต จากนั้นก็รวบรวมข้อมูลจากเด็ก แล้วค่อย

แยกระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต



วันพฤหัสบดี ประโยชน์ของดิน : สอนโดยแต่งนิทานเล่าเรื่อง

เกียวกับดินและแประโยชน์ของดินผ่านนิทานหรือเพลงก็ได้



วันศุกร์ ข้อควรระวัง : สอนโดยใช้นิทานเหมือนกับวันพฤหัสบดี



             ภาพบรรยากาศการสาธิตการสอนในห้องเรียน









ครั้งที่13

วันที่ 24 มกราคม 2556


อาจารย์ได้แนะนำวิธีการสอนโดยเชื่อมโยงไปถึงมาตรฐานการ

เรียนรู้จากที่นักศึกษาได้แยกหัวเรื่องจากการทำ mind mapping 

เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

มาตรฐานการเรียนรู้

1. จำนวนและการดำเนินการ

2. การวัด

3. เรขาคณิต

4.พีชคณิต

5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์






จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

(นิตยา ประพฤติกิจ. 2541: 17 – 19) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรม


คณิตศาสตร์ไว้ดังนี้


1.
เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวก


หรือการเพิ่ม การลดหรือ การลบ

2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็ก

บอกว่า หน่องหนักกว่า ปุ้ยแต่บางคนบอกว่า ปุ้ยหนักกว่า 

หน่องเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและ

บันทึกน้ำหนัก

3.
เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและ


เข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น

4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด 


การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น

5.
เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง


6.
เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง






ครั้งที่ 12

วันที่ 17 มกราคม 2556

อาจารย์ให้นักศึกษาแยกหัวเรื่องที่ทำจาก mind mapping โดย

แยกออกเป็นวันๆ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ เช่น เรื่องดิน



วันจันทร์  ชนิดของดิน

วันอังคาร ลักษณะของดิน

วันพุธ สิ่งที่อยู่ในดิน

วันพฤหัสบดี ประโยชน์ของดิน

วันศุกร์ ข้อควรระวัง

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556



ครั้งที่ 11

วันที่ 10 มกราคม 2556

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทำ mind mapping จากนั้นก็พูดเชื่อม

โยงไปถึงมาตรฐานของ สสวท เพื่อปรับใช้สอนเด็กปฐมวัย


ผังมโนภาพถูกใช้เป็นแนวคิดไร้รูปแบบตายตัวมาหลายศตวรรษแล้วเพื่อใช้ใน

การเรียนรู้, การระดมสมอง, การจดจำข้อมูล, การจินตนาการและการแก้ปัญหา

โดยนักศึกษา, วิศวกร, นักจิตวิทยา รวมถึงบุคคลทั่วไป ตัวอย่างของผู้คิดผัง

มโนภาพที่น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกคือนักคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 นามว่าพอ

ไพรี ผู้ที่จำแนกนิยามที่ถูกคิดโดยอริสโตเติลไว้โดยการมโนภาพ ในยุคปัจจุบัน 

ผู้ปฏิวัติรูปแบบของผังมโนภาพโดยการบูรณาการคือ ดร.อัลลัน คอลลินส์ และ

นักวิจัยในช่วงทศวรรษ 60 (พ.ศ. 2500เอ็ม.โรส ควิลแลนด์ โดยเผยแพร่วิธี

การคิดแบบใหม่นี้โดยการลงบทความ และทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความ

คิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และการมโนภาพ ทำให้ ดร.อัลลัน คอลลินส์ ถือว่าเป็น

บิดาแห่งผังมโนภาพสมัยใหม่ก็ว่าได้

โทนี บูซาน ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในเรื่องแผนที่ความคิด มาช่วยในการจดจำระยะ


ยาวที่เรียกว่าวิธีเนโมนิก ซึ่งได้แก่การนำความรู้ใหม่ไปผูกโยงกับความรู้เดิมที่


มีอยู่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสมองซีกขวาโดยการจินตนาการ ด้วยหลักการใช้


คำหลักเป็นตัวกำหนดแล้วขยายกิ่งก้านสาขาออกไป วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย


ทั้งในเรื่องการทำประชาคม การบันทึกคำบรรยาย เป็นต้น



ตัวอย่างของ mind mapping




วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 10

วันที่ 3 มกราคม 2556

วันนี้อาจารย์สอนโดยใช้กระดาษลังเป็นสื่อในการสอน โดยสอนให้

นักศึกษาได้รู้จักนำของเหลือใช้มาทำเป็นสื่อในการสอนเด็ก ซึ่งเรา

สามารถนำกระดาษลังมาสอนเด็กในเรื่องของรูปทรง และการหาพื้นที่

ได้อีกด้วย

นอกจากนี้กระดาษลูกฟูกยังได้รับความนิยมในการผลิตบรรจุ

ภัณฑ์ เนื่องจากมีความทนทาน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย 

น้ำหนักเบา เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทันสมัยสามารถปรับเปลี่ยนให้

ตรงกับความต้องการได้ สามารถปกป้องสินค้า สามารถพิมพ์ลวดลาย

เพื่อให้ข้อมูลและทำให้เกิดความสวยงาม ราคาประหยัด










ครั้งที่ 9

วันที่ 27 ธันวาคม 2555

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้เพื่อนที่เป็นคนต่าง

จังหวัดกลับบ้านไปหาครอบครัวในช่วงเทศกาลวันปีใหม่



ครั้งที่ 8

วันที่ 20 ธันวาคม 2555

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

ครั้งที่ 7

วันที่ 13 ธันวาคม 2555


วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง คู่มือกรอบมาตรฐานและคู่มือ

ในการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ และหลักการสอน

เด็กปฐมวัย

   เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้  มีความ

อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตชอบเล่นและสำรวจสิ่ง

ต่างๆ รอบตัว  คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริม

สร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว

และสิ่งต่างๆ รอบตัว   การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ   

มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติ

ที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบ

ความสำเร็จเท่านั้น แต่จะส่งผลการเรียนรู้ไปยัง

ศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งใน

การเรียนรู้ และมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต