ครั้งที่ 11
วันที่ 10 มกราคม 2556
วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทำ mind mapping จากนั้นก็พูดเชื่อม
โยงไปถึงมาตรฐานของ สสวท เพื่อปรับใช้สอนเด็กปฐมวัย
ผังมโนภาพถูกใช้เป็นแนวคิดไร้รูปแบบตายตัวมาหลายศตวรรษแล้วเพื่อใช้ใน
การเรียนรู้, การระดมสมอง,
การจดจำข้อมูล, การจินตนาการและการแก้ปัญหา
โดยนักศึกษา,
วิศวกร, นักจิตวิทยา รวมถึงบุคคลทั่วไป
ตัวอย่างของผู้คิดผัง
มโนภาพที่น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกคือนักคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 3
นามว่าพอ
ไพรี ผู้ที่จำแนกนิยามที่ถูกคิดโดยอริสโตเติลไว้โดยการมโนภาพ ในยุคปัจจุบัน
ผู้ปฏิวัติรูปแบบของผังมโนภาพโดยการบูรณาการคือ ดร.อัลลัน คอลลินส์ และ
นักวิจัยในช่วงทศวรรษ
60 (พ.ศ. 2500) เอ็ม.โรส ควิลแลนด์ โดยเผยแพร่วิธี
การคิดแบบใหม่นี้โดยการลงบทความ
และทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความ
คิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และการมโนภาพ ทำให้ ดร.อัลลัน คอลลินส์ ถือว่าเป็น
บิดาแห่งผังมโนภาพสมัยใหม่ก็ว่าได้
โทนี
บูซาน ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในเรื่องแผนที่ความคิด
มาช่วยในการจดจำระยะ
ยาวที่เรียกว่าวิธีเนโมนิก ซึ่งได้แก่การนำความรู้ใหม่ไปผูกโยงกับความรู้เดิมที่
มีอยู่
ควบคู่ไปกับการพัฒนาสมองซีกขวาโดยการจินตนาการ
ด้วยหลักการใช้
คำหลักเป็นตัวกำหนดแล้วขยายกิ่งก้านสาขาออกไป
วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ทั้งในเรื่องการทำประชาคม การบันทึกคำบรรยาย เป็นต้น
ตัวอย่างของ mind mapping
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น