บันทึกครั้งที่ 2
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
อาจารย์พูดเกี่ยวกับตัวเลข
การแบ่งกลุ่มการนับ
เลข
วิธีสอนเด็กบวกลบเลขว่าควรสอนอย่างไร
ในการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กอนุบาลต้อง
ใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นกับเด็กเช่นเล่นเกม
เล่นบทบาทสมมุติ
แสดงท่าทางประกอบคำคล้องจองตัวอย่างเช่นการสอนจำนวน
ตัวเลขต้องให้เด็กจำตัวเลขได้
ว่าตัวเลขอะไรมีรูปร่างเลขหนึ่งเหมือน
เสาธง
เลขสองงอเหมือนเบ็ดหรือว่าเป็ดลอยน้ำ
ให้เด็กทำท่าทางประกอบคำคล้องจอง
จากนั้นให้เด็กแต่งคำ
คล้องจองเลขต่อหรือโดยการทำจำนวนตัวเลขเป็นบัตรคำ แล้วให้
เด็กทายว่าบัตรที่ครูจะเปิดเป็นเลขอะไร จากนั้นให้เด็กเล่นกันเอง
เป็นกลุ่ม
โดยครูเข้าไปเล่นด้วยทุกกลุ่มจนแต่ละกลุ่มเล่นเป็น โดย
การคว่ำบัตรตัวเลขทั้งหมด 1-10 ทีละใบพร้อมกับพูดตัวเลขด้วยว่า
เลขอะไร เช่น เลข 3 แล้วคว่ำบัตรไว้ ทำอย่างนี้จนหมดเพื่อเป็นการ
ฝึกการจำตัวเลขและตำแหน่งของตัวเลขที่เพื่อนเปิดว่าเป็นเลขอะไร
อยู่ตรงไหน
จากนั้นให้เด็กเล่นทายบัตรคำที่จะเปิดว่าเป็นเลขอะไรที
ละคน
ถ้าใครทายไม่ถูกให้คว่ำไว้ตามเดิม
ใครทายถูกก็ได้คะแนน
พร้อมเก็บบัตรคำไว้ ใครทายไม่ถูกก็ไม่ได้คะแนน เล่นจนกว่าเด็กจะ
จำตัวเลขได้ว่า เป็นเลขอะไร
จากนั้นก็ให้เด็กรู้ค่าของจำนวนตัวเลข
ว่าตัวเลขมีค่าเท่าไรเช่น เลข 2 ครูก็ชูสมุดขึ้นมาหนึ่งเล่น ถามว่าครูมี
สมุดกี่เล่ม ชูเพิ่มอีก 1 เล่มถามเด็กว่ามีสมุดกี่เล่ม จากนั้นให้เด็ก
นับ1 2 แล้วถามว่าครูมีสมุดกี่เล่ม
หรือครูสอนให้เด็กนับเลข ประกอบ
กับสื่อของจริงเช่นอุปกรณ์การสอน ต่าง
ๆ ในห้อง หรืออาจให้นับของ
เล่น ของใช้ของเด็กภายในห้องเรียน
การนับ 1-10 อาจสอนโดยให้
เด็กนับเพิ่มนับลด
สร้างเหตุการณ์
หรือบทบาทสมมุติให้เด็กได้เล่น
กับเพื่อนไปด้วย
เช่นครูมีดินสอจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่ากี่แท่ง เด็ก ๆ
ช่วยคุณครูนับหน่อยซิ เมื่อเด็กนับ 1 ครูก็ชูดินสอขึ้นมา 1 แท่ง ทำ
อย่างนี้จนกว่าจะนับดินสอหมด จากนั้นครูก็นำดินสอทั้งหมดชูขึ้น
ถามเด็ก ๆ
ว่ามีดินสอทั้งหมดกี่แท่งค่ะ ครูแจกดินสอทั้งหมดกับเด็ก
คนหนึ่งแล้วให้เด็กลองนับเลียนแบบครู
จากนั้นให้เด็กแจกดินสอให้
เพื่อน ๆ แล้วนับจำนวนดินสอที่เหลือ
จนกว่าจะหมด พร้อมกับพูดเป็น
ประโยคให้เด็กสร้างประโยคที่เด็กกำลังแสดงอยู่ตามจริงเช่น
"แก้มมีดินสอ 7 แท่ง แก้มแบ่งให้แอ๋ว 1 แท่งแก้มเหลือดินสอกี่แท่ง
คำตอบคือ 6 แท่ง"
ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เล่นกับเด็กโดยการแสดง
บทบาทสมมติกับเด็กแล้วต้องให้เด็กแต่งประโยคสัญลักษณ์คำถาม
แบบนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กเข้าใจโจทย์ปัญหาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น