วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


บันทึกครั้งที่ 4

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

อาจารย์ให้วาดรูปสัญลักษณ์ของตัวเอง จากนั้นก็นำใบที่เขียนมาติด

ทำกิจกรรมเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ โดยการจัดกลุ่มโดยใช้เวลาเป็น

เกณฑ์

จากนั้นอาจารย์ให้ดู ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

     1. การนับ

     2. ตัวเลข

     3. การจับคู่

     4.การจัดประเภท

     5. การจัดลำดับ

     6. การเปรียบเทียบ

     7. รูปทรงและเนื้อที่

     8. การวัด

     9. เซต

     10. เศษส่วน

     11. การทำตามแบบหรือลวดลาย

    12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ



วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


บันทึกครั้งที่ 3

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนเพื่อสรุปความหมายของ

คณิตศาสตร์ จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน

คณิตศาสตร์ และขอบข่ายคณิตศาตร์ ซึ่งเป็นงานต่อเนื่องจากสัปดาห์

ก่อนที่อาจารย์ให้ทำเป็นงานเดี่ยว จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงการใช้

ภาษากับเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก

ปฐมวัย โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเก็บเด็กโดยใช้เพลงดังนี้

กลุ่มไหน กลุ่มไหน            รีบเร็วไวหากลุ่มพลัน

อย่ามัวรอช้า                     เวลาจะไม่ทัน  
    
 ระวังจะเดินชนกัน             เข้ากลุ่มพลันว่องไว

สรุปในกลุ่ม


ความหมายของคณิตศาสตร์

   คือ จัดเป็นภาษาแบบหนึ่ง  ที่ทำให้เราสามารถแสดงความสัมพันธ์

ให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งส่งผลต่ออีกอย่างหนึ่ง  เช่น  พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

   สามารถเขียนได้  พื้นที่ = ความยาว x ความกว้าง  แต่ด้วยความ

เป็นนัก

   คณิตศาสตร์  เราจะเขียนว่า  a = L x W  และคณิตศาสตร์

ยังเป็นการฝึก

   วินัยที่จะทำให้เป็นคนมีเหตุผลในการทำสิ่งต่างๆ

   มีผู้รวบรวมดังนี้ 1. น.ส.ศศิธร  แสงเภา   2. น.ส.ดาราวรรณ  น้อม

กลาง


   3. น.ส.นพมาศ   คำมั่น   4. น.ส.เพชรรัตน์   ภูดาษ 

   อ้างอิง มาจากหนังสือเรื่อง คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregson 

หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก7622

        จุดมุ่งหมาย/เป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์

   - ให้เข้าใจในพื้นฐานของคณิต  รู้จักใช้ความคิดริเริ่ม  มีเหตุผล

   - เน้นการฝึกฝนให้เกิดทักษะ  การสังเกต  คิดอย่างมีเหตุผล  สื่อ

ความ 

     หมายได้  มีความมั่นใจ  แม่นยำ  และรวดเร็ว

   - มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และเห็นคนค่าของคณิตศาสตร์ใน

ชีวิตประจำวัน

   - เข้าใจความหมายของศัพท์และสัญลักษณ์เกี่ยวกับปริมาณ  กราฟ
  
     ตาราง  รูปทรง  และการวัด

  - การสอนไม่ควรเป็นเพียงการบอก  ควรใช้คำถามช่วยกระตุ้นให้ผู้

เรียนได้คิด

  อ้างอิง มาจากหนังสือเรื่อง การสอนคณิตศาสตร์  ของชมนาด  เชื้อ

สุวรรณทวี  หน้า7  ปีพ.ศ.2542  เลขเรียกหนังสือ  510.7  ช16ก  ฉ1

                                         
 คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา 

ของวรรณี   ธรรมโชติ  ปีพ.ศ.2537  เลขเรียกหนังสือ 510.7  ว17ด 

4

                                        
 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์สำเร็จรูป  ของ รศ.วรรณี  โลมประยูร

 ปีพ.ศ.2544  เลขเรียกหนังสือ 510.7  ว17ท  ฉ3

        
           ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

     คือ ในการสอนควรคำนึงถึงผู้เรียน  ผู้สอน  ตลอดจนวิธีการสอน

เพื่อให้

     การสอนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้  และการสอนคณิตศาสตร์

สามารถ

     พิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง

     อ้างอิง  มาจากหนังสือเรื่อง คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith 

Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก7622  

คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith 

Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก7622


          ขอบข่ายคณิตศาสตร์

   - เซต คือ คำแต่ละคำบ่งถึงการอยู่รวมกันของสิ่งต่างๆและเรียก

แต่ละสิ่ง

     ว่า "สมาชิกของเซต"

   - จำนวน  คือ  จำนวนนับต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

   - ตรรกศาสตร์  คือ การให้เหตุผล  ถึงวิธีการและหลักการที่ใช้ใน

การให้เหตุผล

   - การวัดการกระจายข้อมูล  คือ  การวัดการกระจายแบบสัมบูรณ์

และ

     สัมพัทธ์  ซึ่งเป็นการกระจายความถี่

   อ้างอิง มาจากหนังสือเรื่อง คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregso

 หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก7622

                                           
การสอนคณิตศาสตร์  ของชมนาด

 เชื้อสุวรรณทวี  หน้า7  ปีพ.ศ.2542  เลขเรียกหนังสือ  510.7  ช16

 ฉ1

 คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith 


Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก7622





ภาพบรรยากาศในห้องเรียน










วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555




บันทึกครั้งที่ 2

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555


อาจารย์พูดเกี่ยวกับตัวเลข การแบ่งกลุ่มการนับ
                        
เลข วิธีสอนเด็กบวกลบเลขว่าควรสอนอย่างไร

ในการสอนคณิตศาสตร์  สำหรับเด็กอนุบาลต้อง

ใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นกับเด็กเช่นเล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ

แสดงท่าทางประกอบคำคล้องจองตัวอย่างเช่นการสอนจำนวน

ตัวเลขต้องให้เด็กจำตัวเลขได้ ว่าตัวเลขอะไรมีรูปร่างเลขหนึ่งเหมือน

เสาธง เลขสองงอเหมือนเบ็ดหรือว่าเป็ดลอยน้ำ

ให้เด็กทำท่าทางประกอบคำคล้องจอง จากนั้นให้เด็กแต่งคำ

คล้องจองเลขต่อหรือโดยการทำจำนวนตัวเลขเป็นบัตรคำ  แล้วให้

เด็กทายว่าบัตรที่ครูจะเปิดเป็นเลขอะไร  จากนั้นให้เด็กเล่นกันเอง

เป็นกลุ่ม โดยครูเข้าไปเล่นด้วยทุกกลุ่มจนแต่ละกลุ่มเล่นเป็น โดย

การคว่ำบัตรตัวเลขทั้งหมด 1-10 ทีละใบพร้อมกับพูดตัวเลขด้วยว่า

เลขอะไร เช่น เลข 3 แล้วคว่ำบัตรไว้ ทำอย่างนี้จนหมดเพื่อเป็นการ

ฝึกการจำตัวเลขและตำแหน่งของตัวเลขที่เพื่อนเปิดว่าเป็นเลขอะไร

อยู่ตรงไหน จากนั้นให้เด็กเล่นทายบัตรคำที่จะเปิดว่าเป็นเลขอะไรที

ละคน ถ้าใครทายไม่ถูกให้คว่ำไว้ตามเดิม    ใครทายถูกก็ได้คะแนน

พร้อมเก็บบัตรคำไว้  ใครทายไม่ถูกก็ไม่ได้คะแนน  เล่นจนกว่าเด็กจะ

จำตัวเลขได้ว่า เป็นเลขอะไร จากนั้นก็ให้เด็กรู้ค่าของจำนวนตัวเลข

ว่าตัวเลขมีค่าเท่าไรเช่น เลข 2 ครูก็ชูสมุดขึ้นมาหนึ่งเล่น ถามว่าครูมี

สมุดกี่เล่ม  ชูเพิ่มอีก 1 เล่มถามเด็กว่ามีสมุดกี่เล่ม จากนั้นให้เด็ก

นับ1 2 แล้วถามว่าครูมีสมุดกี่เล่ม หรือครูสอนให้เด็กนับเลข ประกอบ

กับสื่อของจริงเช่นอุปกรณ์การสอน ต่าง ๆ ในห้อง หรืออาจให้นับของ

เล่น ของใช้ของเด็กภายในห้องเรียน การนับ 1-10  อาจสอนโดยให้

เด็กนับเพิ่มนับลด สร้างเหตุการณ์  หรือบทบาทสมมุติให้เด็กได้เล่น

กับเพื่อนไปด้วย เช่นครูมีดินสอจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่ากี่แท่ง เด็ก ๆ

ช่วยคุณครูนับหน่อยซิ เมื่อเด็กนับ 1 ครูก็ชูดินสอขึ้นมา 1 แท่ง ทำ

อย่างนี้จนกว่าจะนับดินสอหมด  จากนั้นครูก็นำดินสอทั้งหมดชูขึ้น

ถามเด็ก ๆ ว่ามีดินสอทั้งหมดกี่แท่งค่ะ ครูแจกดินสอทั้งหมดกับเด็ก

คนหนึ่งแล้วให้เด็กลองนับเลียนแบบครู จากนั้นให้เด็กแจกดินสอให้

เพื่อน ๆ แล้วนับจำนวนดินสอที่เหลือ จนกว่าจะหมด พร้อมกับพูดเป็น

ประโยคให้เด็กสร้างประโยคที่เด็กกำลังแสดงอยู่ตามจริงเช่น

"แก้มมีดินสอ 7 แท่ง แก้มแบ่งให้แอ๋ว 1 แท่งแก้มเหลือดินสอกี่แท่ง

คำตอบคือ 6 แท่ง"  ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เล่นกับเด็กโดยการแสดง

บทบาทสมมติกับเด็กแล้วต้องให้เด็กแต่งประโยคสัญลักษณ์คำถาม

แบบนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กเข้าใจโจทย์ปัญหาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป   




วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



 บันทึกครั้งที่ 1

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

อาจารย์ได้บอกความหมายของรายวิชา การจัประสบ

การณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าเราต้อง

เรียนเกี่ยว

กับอะไรบ้างในรายวิชานี้

 คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุ มีความซับ

ซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้


      คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถ
ดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิง
จำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม
และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก
ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบ
เทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ
และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วง
เวลากลางวันและกลางคืน 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง
สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆรู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม
มุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม
มุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถ
ดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิง
จำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม
และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก
ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร และ
เวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นใน
ช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิต
ประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง
สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนก
ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบ
รูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถ
ทำตามแบบรูปที่กำหนด


       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถ
ดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิง
จำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม
และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก
ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาวน้ำหนัก และ
ปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถ
เรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถ
บอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3) มีความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง
ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของ
สิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรง
กระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถ
อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม
พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสอง
มิติ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่
สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้าง
เพิ่มเติม 5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูป
แผนภูมิอย่างง่าย

       การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึง
ขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหา
ใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำ
ความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ การ
เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้
จากการใช้คำถาม เป็นต้น